เมนู

ก็ในบทว่า สุมุหุตฺโต นี้ พึงทราบการแบ่งเวลาดังนี้ เวลาประมาณ
10 นิ้ว ชื่อว่า ขณะ เวลา 10 นิ้ว โดยขณะนั้น ชื่อว่า ลยะ. เวลา 10
ลยะ โดยลยะนั้น ชื่อว่า ขณลยะ. เวลา 10 เท่า โดยขณลยะนั้น ชื่อว่า
มุหุตฺตะ. เวลา 10 เท่า โดยมุหุตตะนั้น ชื่อว่า ขณมุหุตฺตะ.
บทว่า สุยิฏฺฐํ พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ทานที่เขาให้ในผู้ประพฤติ
ธรรมอันประเสริฐ ในวันที่บำเพ็ญสุจริต 3 ให้บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่า สุยิฏฺฐํ
(มีการบูชาดีแล้ว). บทว่า ปทกฺขิณํ กายกมฺมํ ความว่า กายกรรมที่เขา
ทำแล้วในวันนั้น ชื่อว่าเป็นกายกรรม ประกอบด้วยความเจริญ. แม้ในบท
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ความว่า ครั้น
การทำกายกรรมเป็นต้น ที่ประกอบด้วยความเจริญแล้ว. บทว่า ลภนฺตตฺเถ
ปทกฺขิเณ
ความว่า จะได้ประโยชน์ที่เป็นประทักษิณ คือประโยชน์ที่ประกอบ
ด้วยความเจริญนั่นเอง. ข้อความที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้เเล.
จบอรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ 10
จบมงคลวรรควรรณนาที่ 5
จบตติยปัณณาสก์


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อกุศลสูตร 2. สาวัชชสูตร 3. วิสมสูตร 4. อสุจิสูตร
5. ปฐมขตสูตร 6. ทุติยขตสูตร 7. ตติยขสูตร 8. จตุตถขตสูตร
9. วันทนาสูตร 10. สุปุพพัณหสูตร และอรรถกถา.